การดำเนินชีวิตของมนุษย์ที่ส่งผลอย่างร้ายแรงต่อสิ่งแวดล้อม



Categories:

ปัญหาสิ่งแวดล้อมของไทยนั้นล้วนมาจากเหตุปัจจัยหลายประการ ที่ก่อให้เกิดปัญหาโลกร้อน ปัญหาขยะมูลฝอย ปัญหาน้ำท่วม ปัญหาความแห้งแล้ง ปัญหาน้ำเสีย ปัญหามลพิษ ปัญหาดินเสื่อมคุณภาพ ปัญหาป่าเสื่อมโทรม ปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติ ตลอดจนปัญหาเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ซึ่งถือว่าเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีความรุนแรงขึ้นทุกขณะ ซึ่งปัญหาเหล่านี้มักเกิดขึ้นมาจากฝีมือของมนุษย์ทั้งสิ้น

โครงสร้างและขั้นตอนในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ที่ส่งผลอย่างร้ายแรงต่อสิ่งแวดล้อม

การกระทำของมนุษย์แม้จะทำให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนา และการปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น แต่ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในวิถีชีวิตมนุษย์ทุกวันนี้ได้กลายเป็นปัญหาเชิงซ้อนที่ที่มีผลกระทบต่อประเทศชาติและประชาชนไม่ได้เป็นเพียงบริบทในมิติเดียวเท่านั้นแต่กลับเป็นการบูรณาการบริบทแห่งปัญหาทั้งทางด้าน 

(1) เศรษฐกิจ 

(2) เทคโนโลยี 

(3) สิ่งแวดล้อม 

(4) สังคม

(5) รูปแบบการบริโภคที่หลากหลาย

โดยปัญหาสิ่งแวดล้อม จัดเป็นปัญหาที่ใกล้ตัวมนุษย์มากที่สุดเพราะตั้งแต่เกิดจนตายเราต้องยอมรับว่า “สิ่งแวดล้อมคือชีวิตและชีวิตก็คือสิ่งแวดล้อม” สำหรับปัญหาสิ่งแวดล้อมของไทยนั้นล้วนมาจากเหตุหลายปัจจัยที่ก่อให้เกิดมลพิษทางสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ หากมีการปูพื้นฐานให้ทุกคนตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมในรูปธรรม โดยการสร้างลักษณะนิสัยให้รู้ถึงปัญหาโครงสร้างและขั้นตอนในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ที่ไม่ส่งผลร้ายแรงต่อสิ่งแวดล้อม

การก่อให้เกิดความตระหนักในสิ่งแวดล้อมนั้นสามารถแบ่งเป็นลำดับได้ 4 ขั้นตอน 

  • การมีความรู้ที่ชัดเจนและซาบซึ้ง 

เข้าใจอย่างถ่องแท้ในเรื่องสิ่งแวดล้อม สิ่งใดก่อให้เกิดประโยชน์สิ่งใดก่อให้เกิดโทษ และสิ่งใดก่อให้เกิดผลดีและผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การสูบบุหรี่ไฟฟ้าก่อให้เกิดควันพิษที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 

  • มีความรักและความหวงแหน 

รักและความหวงแหนในสิ่งที่เข้าใจอย่างถ่องแท้สำหรับเรื่องราวต่างๆ ของสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นสิ่งที่ถูก สิ่งที่ดี สิ่งที่มีประโยชน์ และก่อให้เกิดผลดีต่อมนุษยชาติและโลก เช่น ความรักและหวงแหนในความงามของธรรมชาติ ป่าเขา ชายทะเล เกาะแก่ง ต้นไม้ ลำธาร ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า หรือการไม่สูบบุหรี่ไฟฟ้าในพื้นที่ธรรมชาติ

  • มีความวิตกและห่วงใย 

รู้สึกเป็นห่วงและกังวลถึงสิ่งที่เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม เช่น เป็นห่วงและกังวลต่อลักษณะนิสัยที่เห็นแก่ตัวไม่มุ่งประโยชน์ส่วนรวม ความวิตกและความห่วงใยในสภาพภัยแล้งและวิกฤตการณ์การขาดแคลนน้ำ ซึ่งเกิดจากการตัดไม้ทำลายป่า 

  • การปฏิบัติอย่างจริงจัง

เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดเพื่อให้เกิดความตระหนักในสิ่งแวดล้อม โดยการปฏิบัติอย่างจริงจังทั้งทางตรงและทางอ้อม

จะเห็นได้ว่า การดำเนินชีวิตมนุษย์ล้วนแล้วมีความเกี่ยวข้องกับสรรพสิ่งต่างๆที่มีความเชื่อมโยงสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ ทั้งทางตรงและทางอ้อม ดังนั้น การที่จะรักษาธรรมชาติให้คงอยู่นั้น มนุษย์จะต้องตระหนักการถึงการให้ชีวิตไม่ให้เบียดเบียนธรรมชาติมากเกินไป และควรตอบแทนกับสิ่งที่ได้รับมาจากธรรมชาติด้วยเช่นกัน